Grid computing

 
Catalog
Member Login
Username :
Password :
LoginRegister
 
 

  

พื้นฐานของเทคโนโลยี Grid Computing หรือ Grid Technology
         กริด(Grid) : มีความหมายแรก คือ ตารางหรือตะแกรงหรือตาข่าย เรารู้จักกันดี เช่น ตาราง Excell ตาข่ายร่างแห ตารางหมากรุก ตารางหมากฮอร์ส โดยถ้าพิจารณา 2 ตารางหลังนี้ จะมีอุปกรณ์การเล่น(ถือว่าเป็นทรัพยากร)และมีวิธีการเล่น(process)ต่างกัน ซึ่งตารางหมากรุก และตารางหมากฮอร์ส จะมีเส้นทางการเดินทรัพยากรหรือเรียกว่าเส้นทางเดินหมากที่เชื่อมโยงติดต่อถึงกันระหว่างจุดต่อจุดรวมกันเป็นเครือข่ายหรือตาข่าย แต่ละจุดหรือช่อง(cell)ของตารางใดๆ จะกำหนดให้เป็นหนึ่งแฟลตฟอร์ม ถ้าจะบังคับทางเดินทรัพยากรหรือเดินหมากไปมา(distribute)ระหว่างแฟลตฟอร์ม ก็จะมีวิธีการเดินตาม process ที่ได้กำหนดไว้ สามารถกำหนดการเดินหมากให้กระโดดจากแฟลตฟอร์มหนึ่งไปยังอีกแฟลตฟอร์มหนึ่งที่อยู่ห่างไกลได้ ซึ่งผู้เล่นหรือ user หรือ End User จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจวิธีการ(Process)
         กริด(Grid) : มีบัญญัติความหมายไว้อีกอย่างว่า คือระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งลักษณะที่เราเห็นก็คือหากผู้ใช้(user) ต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ เช่น ตู้เย็น ทีวี ก็เพียงแค่เราเสียปลั๊กของอุปกรณ์นั้นเข้ากับเต้าเสียบที่ตำแหน่งต่างๆ ตามกำหนดไว้ในบ้านเรือน อุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะได้รับพลังงานจากกระแสไฟฟ้านั้น เพื่อเปลียนแปลงรูปแบบให้ผู้ใช้ได้บริโภคตามวัตถุประสงค์ โดยทุกๆ ครัวเรือน สามารถใช้กระแสไฟฟ้าจากแหล่งทรัพยากรเดียวกันได้ คือจากแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อน หรือโรงผลิตไฟฟ้า นั่นเอง 
         คลัสเตอร์(Cluster) : มีความหมายกลางๆ ว่า เป็นกลุ่มคนหรือกลุ่มสิ่งของที่อยู่รวมกันเป็นกระจุกหรือหนาแน่น อยู่บนขอบเขตพื้นที่จำกัดในแฟลตฟอร์มเดียวกัน จะติดต่อเชื่อมโยงหรือประสานงานทรัพยากรทำงานร่วมกันได้เฉพาะในแฟลตฟอร์มเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกันเท่านั้น เช่น การนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง(แต่ละเครื่องอาจจะมี CPU มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป) ที่ไม่ถูกใช้งานบางช่วงเวลา หรือไม่ได้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ มาต่อรวมกันให้ทำงานตามวัตถุประประสงค์ ของมหาวิทายลัยหนึ่งๆ ก็ถือว่าเป็น Cluster หนึ่งของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เป็นต้น
         คอมพิวติ้ง(Computing) : มีความหมายว่า คือการคำนวณ หรือการประมวลผล ถ้ามองทางด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
โปรแกรมที่รับเข้าไป ซึ่งเข้าใจกันดีว่าเป็นการประมวลผลข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั่นเอง
         กริดคอมพิวติ้ง(Grid Computing) : เป็นเทคโนโลยี(Grid Technology) หรือนวัตกรรม(Innovation) ที่ได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ระบบทำการคำนวณหรือ
ประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน ด้วยสมรรถนะสูง โดยได้จัดเอาทรัพยากรด้านคำนวณหรือทรัพยากรประมวลผลด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาทำการต่อเชื่อมโยงให้ถึงกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงระบบเดียว ในรูปแบบของ Grid เพื่อทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกัน โอนถ่ายข้อมูลระหว่างกัน ไม่ว่าทรัพยากรดังกล่าวจะมีลักษณะแตกต่างกัน รุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ไม่ได้ใช้งานบางช่วงเวลา หรือไม่ถูกใช้งาน จะอยู่ใน Cluster เดียวกัน หรืออยู่คนละ Cluster อยู่ในสถานที่คนละแห่งที่ห่างไกลกันแค่ไหน ก็สามารถจะทำการประมวลผลร่วมกันได้ โดยระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ระบบเดียวที่ได้ดังกล่าวนี้ จะทำงานเสมือน เป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่เครื่องเดียว ที่มีราคาต้นทุนต่ำ ประมวลผลข้อมูลตามแบบของ Grid Computing คือจัดให้ประมวลผลแบบขนาน(Parallel Processing หรือ Parallel Computing)เพื่อให้ทำงานพร้อมกัน หากส่วนใดในระบบขัดข้องหรือไม่ทำงาน ระบบก็ยังทำงานต่อไปได้ เพราะมีซอฟต์แวร์กลางพิเศษช่วยจัดการดูแลตรวจสอบสถานะของระบบกริดตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่า Middleware 


ส่วนประกอบ Grid Computing ที่มี Cluster หลายๆตัว จากต่างพื้นที่ทั่วโลกทำงานร่วมกัน

         ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ Middleware จะมีชื่อหลายตัว เช่น โปรแกรม OpenSCE ของ ศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ ซึ่งเป็น Open Source ได้เสนอนำไปใช้จัดการดูแลตรวจสอบสถานะของระบบกริดในองค์กร PRAGMA ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระดับโลก ระหว่างประเทศที่อยู่ในแถบทวีปเอเชีย และคาบสมุทรแปซิฟิก ซึ่งวิจัยทางด้าน Grid Technology ฉะนั้นองค์กรใดๆ หรือบุคคลใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นสมาชิกของระบบกริด เช่น เป็นสมาชิกศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ เป็นสมาชิกขององค์กร PRAGMA เมื่อติดตั้ง Middleware ลงไปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ของตัวเอง ก็จะใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม เสมือนใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน นั่นเอง

         วิธีการพื้นฐานที่ผ่านมาสำหรับสร้าง Grid Computing เพื่อนำไปใช้ในองค์กร จะนิยมใช้ ซอฟต์แวร์ GLOBUS ซึ่งเป็น Middleware
ชนิดของกริด(Grid)
ชนิดของกริดพื้นฐาน จะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังข้างล่าง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ได้ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ การศึกษา การวิจัย
1. Information Grid
2. Resource Grid
3. Service Grid BasicGridType.doc(March 29, 2007 5:45)


5508

                                แสดงชนิดของ Grid พื้นฐานในรูปแบบต่างๆ โดยทำงานร่วมกัน ผ่านเครือยข่ายบน Internet

 

 

 

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,391
Today:  3
PageView/Month:  9

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com